วิธีการรักษา👼 ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักดังนี้
💊 การรักษาด้วยยา การใช้ยาแก้เศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้าสาเหตุที่พบเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองดังที่ได้กล่าว แล้วข้างต้น ดังนั้นการให้ยาแก้เศร้าเพื่อไปปรับสมดุลสารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างมาก ยาแก้เศร้าช่วยบรรเทาอาการเศร้า ทานยาจนรู้สึกดีขึ้น และเมื่อดีขึ้นแล้วควรทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นแม้จะ รู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมีอาการ กำเริบซ้ำ จึง ถือว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับยาระยะยาว
💖การรักษาทางจิตใจ มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการ พูดคุยกับจิตแพทย์ อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง สาเหตุที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ ซึมเศร้า เข้าใจปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมในที่สุด วิธีการที่พบว่าสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี คือ
2.1 การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม เชื่อว่าอาการของผู้ป่วยมีสาเหตุจากการมีแนวคิดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะในหลายครั้ง บางคนทุกข์เพราะความคิดของตัวเอง เช่นมองตนเองในแง่ลบ มองสิ่งต่างๆแง่ลบ เกินความจริง ดังนั้น การรักษา มุ่งแก้ไขแนวคิดของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความจริงมากขึ้น รวมถึงการปรับพฤติกรรม ใช้ทักษะใหม่ที่เหมาะสมมากขึ้นในการแก้ปัญหา
2.2 การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรักษามุ่งให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นที่ดีขึ้น
2.3 การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจตนเอง จนนำมาสู่โรคซึมเศร้า
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย👧
👄คุยกับคนที่ไว้ใจเกี่ยวกับอารมณ์เศร้าและเรื่องที่ทำให้เศร้า หลายคนรู้สึกดีขึ้นหลังจากการพูดคุย
🎶ทำกิจกรรมที่เคยทำแล้วมีความสุข
👯ไปมาหาสู่พบปะพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวบ่อยๆและสม่ำเสมอ
💪ออกกำาลังกายสม่ำเสมอถ้าสามารถทำได้ แม้เป็นการเดินระยะสั้นก็ได้อย่าง น้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
🍛 รับประทานอาหาร และนอนให้เป็นเวลาทุกๆวัน
💞 ทำใจกับอาการซึมเศร้าว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนเป็นได้ ความคาดหวังในสิ่งต่างๆ อาจจะไม่เป็นตามที่เคยเป็น
🍻งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามใช้ยาเสพติด เพราะทำให้อาการซึมเศร้าเป็นมากขึ้น
💬ไปพบแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา หรือบุคลากรสาธารณสุข ท่านจะได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ทันท่วงทีและเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการรักษา
💀หากท่านคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง ให้รีบขอความช่วย เหลือจากบุคลากรสาธารณสุขโดยด่วน
💭 ให้ระลึกอยู่เสมอว่า การได้รับดูแลรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้ท่านอาการดีขึ้นอย่าง รวดเร็ว และหายขาด
คำแนะนำสำหรับญาติ👪
มีข้อแนะนำในการดูแลผู้ป่วยดังนี้
👥เข้าหาและบอกว่ายินดีช่วยเหลือพร้อมรับฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ
💗ทำความเข้าใจและหาความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น
📆พาไปพบจิตแพทย์ และไปเป็นเพื่อนเสมอเมื่อถึงวันตรวจตามนัด
💊ภาวะซึมเศร้าจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ แต่ต้องดูแลให้ได้รับยาครบตามที่แพทย์สั่งด้วย ความอดทนใจเย็น
😴ดูแลให้ได้กิน และนอนให้เป็นเวลาทุกวัน
💪ชวนให้ออกกำาลังกาย และร่วมกิจกรรมในชุมชนด้วยกัน
💬ชี้แนะให้ถึงการมองสิ่งรอบข้างอย่างมีความสุขและไม่นึกสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ สิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่เช่น ความรู้สึกแย่กับตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระกับครอบครัว
👯หากผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าบอกไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว ให้ ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เก็บสิ่งที่อาจเป็นอันตราย ไม่ให้มีในบ้าน เช่น เชือก ของมีคมอาวุธปืน ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง หรือยา อันตรายต่างๆ
🎺อย่าลืมดูแลตนเองด้วยการหาวิธีคลายเครียด และกิจกรรมที่ทำาให้สนุกเพลิดเพลิน
💊 การรักษาด้วยยา การใช้ยาแก้เศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้าสาเหตุที่พบเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองดังที่ได้กล่าว แล้วข้างต้น ดังนั้นการให้ยาแก้เศร้าเพื่อไปปรับสมดุลสารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างมาก ยาแก้เศร้าช่วยบรรเทาอาการเศร้า ทานยาจนรู้สึกดีขึ้น และเมื่อดีขึ้นแล้วควรทานยาต่อไปอีก 6-12 เดือน เพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นแม้จะ รู้สึกสบายดีก็ยังต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เนื่องจากผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะกลับมาป่วยซ้ำหรืออาจมีอาการ กำเริบซ้ำ จึง ถือว่าโรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับยาระยะยาว
💖การรักษาทางจิตใจ มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการ พูดคุยกับจิตแพทย์ อันจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง สาเหตุที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ ซึมเศร้า เข้าใจปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมในที่สุด วิธีการที่พบว่าสามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ดี คือ
2.1 การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม เชื่อว่าอาการของผู้ป่วยมีสาเหตุจากการมีแนวคิดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะในหลายครั้ง บางคนทุกข์เพราะความคิดของตัวเอง เช่นมองตนเองในแง่ลบ มองสิ่งต่างๆแง่ลบ เกินความจริง ดังนั้น การรักษา มุ่งแก้ไขแนวคิดของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความจริงมากขึ้น รวมถึงการปรับพฤติกรรม ใช้ทักษะใหม่ที่เหมาะสมมากขึ้นในการแก้ปัญหา
2.2 การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรักษามุ่งให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นที่ดีขึ้น
2.3 การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจตนเอง จนนำมาสู่โรคซึมเศร้า
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย👧
👄คุยกับคนที่ไว้ใจเกี่ยวกับอารมณ์เศร้าและเรื่องที่ทำให้เศร้า หลายคนรู้สึกดีขึ้นหลังจากการพูดคุย
🎶ทำกิจกรรมที่เคยทำแล้วมีความสุข
👯ไปมาหาสู่พบปะพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวบ่อยๆและสม่ำเสมอ
💪ออกกำาลังกายสม่ำเสมอถ้าสามารถทำได้ แม้เป็นการเดินระยะสั้นก็ได้อย่าง น้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
🍛 รับประทานอาหาร และนอนให้เป็นเวลาทุกๆวัน
💞 ทำใจกับอาการซึมเศร้าว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนเป็นได้ ความคาดหวังในสิ่งต่างๆ อาจจะไม่เป็นตามที่เคยเป็น
🍻งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามใช้ยาเสพติด เพราะทำให้อาการซึมเศร้าเป็นมากขึ้น
💬ไปพบแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา หรือบุคลากรสาธารณสุข ท่านจะได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ทันท่วงทีและเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการรักษา
💀หากท่านคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง ให้รีบขอความช่วย เหลือจากบุคลากรสาธารณสุขโดยด่วน
💭 ให้ระลึกอยู่เสมอว่า การได้รับดูแลรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้ท่านอาการดีขึ้นอย่าง รวดเร็ว และหายขาด
คำแนะนำสำหรับญาติ👪
มีข้อแนะนำในการดูแลผู้ป่วยดังนี้
👥เข้าหาและบอกว่ายินดีช่วยเหลือพร้อมรับฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ
💗ทำความเข้าใจและหาความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น
📆พาไปพบจิตแพทย์ และไปเป็นเพื่อนเสมอเมื่อถึงวันตรวจตามนัด
💊ภาวะซึมเศร้าจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ แต่ต้องดูแลให้ได้รับยาครบตามที่แพทย์สั่งด้วย ความอดทนใจเย็น
😴ดูแลให้ได้กิน และนอนให้เป็นเวลาทุกวัน
💪ชวนให้ออกกำาลังกาย และร่วมกิจกรรมในชุมชนด้วยกัน
💬ชี้แนะให้ถึงการมองสิ่งรอบข้างอย่างมีความสุขและไม่นึกสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ สิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่เช่น ความรู้สึกแย่กับตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว หรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระกับครอบครัว
👯หากผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าบอกไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว ให้ ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เก็บสิ่งที่อาจเป็นอันตราย ไม่ให้มีในบ้าน เช่น เชือก ของมีคมอาวุธปืน ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง หรือยา อันตรายต่างๆ
🎺อย่าลืมดูแลตนเองด้วยการหาวิธีคลายเครียด และกิจกรรมที่ทำาให้สนุกเพลิดเพลิน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น